วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา



หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

 ประกอบด้วย

1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู

1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน

1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสันกีเซล

2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ

3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา

4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น

กลุ่มความรู้ (Cognitive)

นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โคเลอร์(kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin) แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ

การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา

ดังนั้นจากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน


หลักการและทฤษฏีแนวคิดที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

1.จิตวิทยาทางการศึกษา

1.1 ทฤษฏีการเรียนรู้

1.2 ทฤษฏีความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.3 ทฤษฏีการพัฒนาการ

2.ทฤษฏีการสื่อสาร เกี่ยวกับความต้องการสื่อความหมายให้คนทราบ

3.ทฤษฏีระบบ

4.ทฤษฎีการเผยแพร่

หลักการทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษ

ทฤษฏีการเรียนรู้มี 2 กลุ่ม

1. กลุ่มพฤติกรรม

2. กลุ่มความรู้

                กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฏีการเสริมแรง ของพาฟลอบ การปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวสิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้น ได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง

                ทฤษฏีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

เจ้าของทฤษฏีนี้คือธอร์ไดร์ สิ่งเร้าหนึ่งๆย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลายๆอย่างจนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุดเขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ดังนี้

1. กฎแห่งการผล

2. กฎแห่งการฝึกหัด

3. กฎแห่งความพร้อม

ทฤษฏีการวางเงื่อนไข

ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้าเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการตอบสนอง

                การนำทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ

                1. การเรียนรู้เป็นขั้นตอนขั้นพื้นฐาน(Step By Step)

                2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)

                3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที(Feed Bact)

                4. การได้รับการเสริมแรง(Reinforcement)

                ทฤษฏีการเรียนรู้

                ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง

การรับรู้จากการเห็น75% ได้ยิน 13% สัมผัส 6% กลิ่น 3% รส 3%

                การรับรู้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า

  กลุ่มความรู้

   ทฤษฏีภาคสนาม เช่นของไดเลอร์ (congnitive Field Theory )

เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อนโดยเน้นเรียนจากประสบการณ์

 แนวคิดของนวัตกรรม

นวัตกรรม เป็นความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงาน

การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมา ทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ นวัตกรรมถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

- สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
- สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่


- สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

นวัตกรรมนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งสำคัญ สองประการคือ จากแรงผลักบ้างในบางครั้งและจากแรงดึงดูดในบางครั้ง แต่นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ของแรงทั้งสองไปพร้อมๆ กัน เปรียบได้ดั่งกรรไกร ที่ต้องอาศัยใบมีดทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กันจึงจะนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

- เครื่องสอน (Teaching Machine)

- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- ศูนย์การเรียน (Learning Center)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

- การเรียนทางไปรษณีย์

4.แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

- มหาวิทยาลัยเปิด

- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

- ชุดการเรียน

 การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา

ดังนั้นจากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน